ปะการัง .. สัตว์ป่าคุ้มครอง!!
หลายท่านอาจไม่ทราบว่าปะการังเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2535 ห้ามล่า ห้ามทำอันตราย ห้ามครอบครอง ห้ามค้า
หรือเพาะพันธุ์โดยมิได้รับอนุญาต
ผู้ฝ่าฝืนมีบทลงโทษทั้งจำทั้งปรับหนักเบาตามฐานความผิด..กระนั้น
เราก็ยังเห็นปะการังไปปรากฏในรูปแบบต่างๆ
ทั้งด้านการสะสมและการค้าอยู่บ่อย
พื้นที่แนวปะการังในประเทศไทย
ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ปะการังหลายฉบับ
ได้แก่ พระราชบัญญัติการเดินเรือน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
พระราชบัญญัติให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดบางอย่างทางทะเล
พ.ศ. 2490 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า
พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2
พ.ศ.2545 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอีก 3 ฉบับ
ซึ่งกฎหมายบางฉบับเกี่ยวข้องโดยตรงและบางฉบับเกี่ยวข้องในทางอ้อม
การอนุรักษ์ปะการัง
1. ไม่เก็บปะการังที่หักหรือเก็บขึ้นมาจากท้องทะเล
ในแต่ละกิ่งแต่ละก้านนั้น หมายถึง
ชีวิตนับร้อยนับพันชีวิตที่ต้องตายลงจากโครงสร้างของปะการังที่ต้องใช้เวลานับร้อยนับพันปีในการเจริญเติบโต
และการเสื่อมสลายของปะการังนั้นนำไปสู่ผลของการเสื่อมสูญอาหารจากทะเลในอนาคต
เพราะปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของชีวิตจากท้องทะเล เราจึงไม่ควรเก็บ
ซื้อปะการังมาเป็นของที่ระลึก หรือประดับตู้ปลา
2. ไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง
การทอดสมอเรือในแนวปะการังเพื่อจอดเรือในแต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายให้กับปะการัง
ปัจจุบันได้มีการแก้ไขโดยการวางทุ่นเพื่อผูกเรือแทนการทอดสมอเรือ
เพื่อการคุ้มครองปะการัง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยความช่วยเหลือทางวิชาการ
จากมหาวิทยาลัยโรดส์ไอร์แลนด์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้จัดทำทุ่นเพื่อผูกเรือได้ประมาณ 2-3 ลำต่อทุ่น
3. ไม่ทิ้งขยะ
นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล
เพราะธรรมชาติจะสวยงามได้ตลอดไป ตราบเท่าเราไม่เข้าไปทำลาย
การค้าขายปะการัง ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นของเราให้หมดไป
4. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง
5. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง
โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท
ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง
6. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชนสมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว
ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด
เพื่อการคุ้มครองปะการัง |