ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 21
มิถุนายน 2544 ด้วยมีพระราชกระแสที่ว่า
"เมื่อบุคคลต่างๆ
ได้มาศึกษาแล้วก็ทราบว่าพืชต่างๆ และต่อไปก็ต้องการศึกษาเรื่องสัตว์
สิ่งมีชีวิตและธรรมชาติต่างๆ ของพวกนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
เมื่อสนใจแล้ว ก็จะมีความรู้สึกอยากจะปกปักรักษา
ไม่ทำลายให้เสียหายสูญสิ้นไป ก็เป็นการช่วยอนุรักษ์เป็นอย่างดี"
ความข้างต้นจึงเป็นที่มาของงานเรียนรู้ทรัพยากรทะเล ณ เกาะแสมสาร
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้ร่วมกับกองทัพเรือ
โดยหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ
(นสร.กร.ทร.) ที่จะทำให้เกาะแสมสารเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้
โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะแสมสารมาเป็นปัจจัยในการเรียนรู้
งานเรียนรู้ทรัพยากรทะเล
เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เยาวชนเกิดการเรียนรู้จากการเลือกศึกษาทรัพยากรตามที่ตนสนใจ
โดยจะได้รับการฝึกอบรมปฏิบัติการกระบวนการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติตามกรบะบวนการทางวิทยาศาสตร์จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งจะทำให้เยาวชนเกิดทักษะในการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัจติอันเป็นพื้นฐานการศึกษา
วิจัย โดยสามารถศึกษาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเนื่องต่อ
ในนามของสมาชิกชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ. (RSPG BIOLOGIST
CLUB) ได้ต่อไป
จากเยาวชนรุ่นเยาวที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมเกาะแสมสารและเกิดความประทับใจในทรัพยากรธรรมชาติอันงดงาม
เกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้ เพื่อเลือกศึกษาทรัพยากรตามความสนใจของตน
ทั้งบนบก และในทะเล เพื่อที่จะวางแผนในการศึกษาทรัพยากรนั้นต่อไป
ได้แสดงความคิดเห็นในการเลือกศึกษาทรัพยากรไว้ดังเช่น
"เราอยากศึกษาเพรียงหินที่เกาะอยู่ตามโขดหินและเสาสะพาน"
"แต่เราชอบต้นไม้ เราจะศึกษาต้นโพทะเล ดูสิ ดอกของมันมีสองสีสวยมากเลย"
"เพื่อนๆ มาดูนี่เร็ซ
พวกไลเคนที่เกาะอยู่ตามเปลือกไม้ก็น่าสนใจนะ"
งานชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ.
ได้สนับสนุนนักวิจัยรุ่นเยาว์ โดยการจัดกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้
ศึกษา วิจัย โดยการสัมผัสทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่วิทยาการ ร่วมในการสนองพระราชดำริฯ
และเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาต่อไป
เยาวชนรุ่นเยาว์เหล่านี้จึงเดินทางมาที่เกาะแสมสารในทุกวันหยุด
หรือช่วงเวลากิจกรรมของโรงเรียน
โดยจะมีคุณครูมาร่วมศึกษาพร้อมกับนักเรียนด้วย
ทรัพยากรที่เยาวชนเลือกศึกษามีมากมาย ทั้งทรัพยากรกายภาพและชีวภาพ เช่น
หินชนิดต่างๆ ไลเคน ปลวก ต้นมะนาวผี ต้นมะกล่ำตาหนู
ต้นโกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็ก ต้นโปรงแดง ต้นโพทะเล ต้นหญ้าลอยลม
ต้นผักบุ้งทะเล กลุ่มปลาทะเล ปูแสม ปูเสฉวน เม่นทะเลดำหนามยาว ปลิงทะเล
และดาวทะเล ฯลฯ
อ่านต่อหน้าถัดไป
บทความโดย :
แพรวพรรณ พัฒยุติ และ กรณ์รวี เอี่ยมสมบูรณ์
ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
|