ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์เราได้รับจากระบบนิเวศวิทยาที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นมีอยู่มีอยู่มากมาย
ที่เห็นได้ชัดคือ ประโยชน์ทางตรง
วัสดุธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม
สามในสี่ของประชกรโลกนั้นใช้พืชสมุนไพรจากป่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว
มีอุตสาหกรรมการผลิตยาที่สกัดจากวัสดุธรรมชาติมูลค่านับแสนล้านบาท
มนุษย์นั้นพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์
และจุลินทรีย์ นอกจากได้ใช้สิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นยาดังกล่าวแล้ว
อาหารทั้งหมดและวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมก็ได้จากสิ่งมีชีวิตที่พบในธรรมชาติหรือที่มนุษย์นำมาเพาะเลี้ยง
ปลาส่วนใหญ่ที่บริโภคก็ได้จากธรรมชาติ
ป่านั้นเป็นที่รวมสรรพสิ่งมีชีวิตไว้มากมาย
พืชเกษตรกรรมหลายชนิดกำเนิดมาจากป่า ไม่ว่าจะเป็นอาหาร
หรือเป็นไม้ประดับ ก็ตาม ตลอดเวลา 50
ปีที่ผ่านมาได้นำพืชที่เป็นญาติของพืชเกษตรมาใช้ปรัปปรุงพันธุ์ให้ได้ผลผลิตมากขึ้น
ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ได้มีการศึกษาพบว่า
พืชพรรณที่ศึกษาพบ ไม่ต่ำกว่า 20,000 ชนิด เห็ดรา มากว่า 1,200 ชนิด
ไลเคนส์ มากว่า 300 ชนิด เฟิร์น 633 ชนิด พืชที่มีระบบท่อลำเลียงมากว่า
10,000 ชนิด และกล้วยไม้มากว่า 1,000 ชนิด
|
|
"ตามเกาะต่างๆ มีพืชพรรณอยู่มาก
แต่ยังไม่มีผู้สนใจเท่าไร
จึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรณตามเกาะด้วย"
พระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
องค์ประธานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536
ถือได้ว่าเป็นการจุดประกายของการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามเกาะต่างๆ
อย่างเป็นรูปธรรม
โดยกองทัพเรือซึ่งมีความพร้อมทั้งหน่วยงานและพื้นที่
ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริในงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
และใช้พื้นที่เกาะแสมสารและเกาะข้างเคียง อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการฯ
เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นมา
โดยมีคณะปฏิบัติงานวิทยากร อพ.สธ.
ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการหลากหลายสถาบันร่วมปฏิบัติงานด้านวิชาการนอกจากนั้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2541
เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการที่เกาะแสมสาร ความว่า
"ให้ศึกษาตั้งแต่ยอดเขาจนถึงใต้ทะเล"
"ให้มีการรวบรวมพันธุ์ไม้นานาชนิด
ทั้งพืชบนดินและพืชน้ำ โดยเน้นระบบนิเวศแบบภาพรวมทั้งระบบ
ซึ่งรวมถึงสัตว์ต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ได้รวมเอาเกาะเล็กๆ
รอบเกาะแสมสารเข้าในโครงการในลักษณะผสมผสาน
เนื่องจากอยู่ใกล้กันและมีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้าน
ให้ทำการสำรวจทั้งด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา
แร่ธาตุ ฯลฯ ไปพร้อมๆ กัน"
ดังนั้น
การปฏิบัติงานด้านการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพและกายภาพของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
กองทัพเรือ จึงได้มีการปฏิบัติงานทางด้านวิชาการหลายสาขา
ตั้งแต่ด้านธรณีวิทยา พืช สัตว์ จุลชีวัน
สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล รวมถึงด้านสมุทรศาสตร์
และอุตุนิยมวิทยา รวมแล้วมากกว่า 20 สาขา
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากกพระราชดำริ
กองทัพเรือ
ได้กำหนดแผนงานในการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพและกายภาพตามเกาะต่างๆ
เป็นประจำทุกปี
ประกอบด้วยการสำรวจเกาะในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร ทุก 2
เดือนต่อครั้ง
และการสำรวจเกาะในภูมิภาคอื่นในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
ปีละ 2 ครั้ง |
|
อ่านต่อหน้าถัดไป
บทความโดย :
นาวาเอกอาภากร อยู่คงแก้ว
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
ที่มา: หนังสือจากยอดเขาถึงใต้ทะเล 3
ทรัพยากรไทย ภูมิปัญญาไทย ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย
สู่เศรษฐกิจพอเพียง
|