ย้อนกลับ

อ่านหน้าถัดไป

 
         
         
   



เกาะที่ได้มีการสำรวจแล้ว มีจำนวนมากกว่า 50 เกาะ ดังนี้

- เกาะในหมู่เกาะแสมสาร  ประกอบด้วย เกาะแสมสาร เกาะแรด เกาะจวง เกาะจาน เกาะโรงโขน เกาะโรงหนัง เกาะฉางเกลือ เกาะขาม เกาะปลาหมึก

- เกาะในฝั่งอ่าวไทย  ประกอบด้วย

     เกาะในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  ได้แก่ เกาะคราม เกาะริ้น เกาะไผ่ เกาะกลึงบาดาล เกาะมารวิชัย เกาะเตาหม้อ เกาะพระ เกาะยอ เกาะอีเลา เกาะพระน้อย และเกาะอีร้า

     เกาะในพื้นที่จังหวัดตราด ได้แก่ เกาะช้าง เกาะมาก เกาะกูด

     เกาะในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ เกาะไข่ เกาะเวียง และเกาะรัง

     เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ หมู่เกาะอ่างทอง

     เกาะในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ เกาะกระ
 

- เกาะในฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วย

     เกาะในพื้นที่จังหวัดระนอง ได้แก่ เกาะช้าง เกาะพะยาม เกาะสินไห เกาะตาครุฑ เกาะสนไทย เกาะหม้อ เกาะปลิง เกาะเขาทะลุ เกาะโพธิ์

     เกาะในพื้นที่จังหวัดพังงา ได้แก่ เกาะบอน เกาะตาชัย เกาะพระทอง เกาะกระ หมู่เกาะสิมิลัน (2-9 เมษายน 2553 )

     เกาะในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ได้แก่ เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่

     เกาะในพื้นที่จังหวัดสตูล ได้แก่ เกาะกาเบ็ง เกาะเขาใหญ่ เกาะลิดี เกาะบุโหลนเล เกาะโหลนดอน เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี

     จากการสำรวจความหลากหลายทางชีวาภาพและกายภาพ ตามเกาะต่างๆ นี้ คณะปฏิบัติงานวิทยาการในแต่ละสาขาได้ทำการศึกษาและค้นพบสิ่งต่างๆ มากมาย ซึ่งจะขอยกตัวอย่างผลการสำรวจของคณะปฏิบัติงานวิทยาการบางสาขาและเป็นเพียงเศษเสี้ยวของผลการสำรวจฯ ดังนี้
 

     การศึกษาลักษณะทางกายภาพของหินตามเกาะต่างๆ โดย ผศ.วิโรจน์ ดาวฤกษ์ และคณะ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้

     หมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ลักษณะทางธรณีวิทยาของบริเวณหมู่เกาะแสมสาร ซึ่งประกอบด้วยเกาะ 9 เกาะ เกาะใหญ่ที่สุดคือ เกาะแสมสาร ลักษณะของหมู่เกาะเรียงตามแนวเกือบเหนือใต้ เสมือนว่าเกาะทั้งหมดเคยเป็นส่วนเดียวมารก่อน คาดว่าลักษณะการวางตัวแบบนี้น่าจะเกิดจากโครงสร้างรอยเลื่อน มีหน้าผาสูงชันยาวปรากฏทั่วไปทั้งหมู่เกาะ  มีโครงสร้างต่อเนื่องกัน ลักษณะหินจังเหมือนกันหมด มีหินควอทไซท์ และหินทรายเป็นหลัก

     ประเภทของหินประกอบด้วย ควอทไซท์ หินทรายเป็นหลัก และมีหินทรายแป้ง หินดินดาน และหินเชิร์ต อายุประมาณ 280 ล้านปี หินของหมู่เกาะยังไม่สามารถจัดอยู่ในหมวดหินหลักของประเทศไทยได้ บริเวณชายฝั่งใกล้ระดับน้ำทะเล พบหินศิลาแลงอยู่ทั่วไป ซึ่งเกิดจากการทับถมทีหลังคือ ยุค Quaternary อายุต่ำกว่า 2 ล้านปี
 

 
   

       เกาะกูด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ประกอบด้วยหินทรายสีแดงอมม่วง จัดอยู่ในหมวดหินภูกระดึง ยุค Jurassic วางตัวอยู่อย่างต่อเนื่องใต้หินทรายชุดหมวดหินเขาพระวิหาร
     การวางตัวของหินบนเกาะกูด มีลักษณะเช่นเดียวกับหินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย หินทรายบนเกาะกูดน่าจะมีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจากหินทรายปลายแหลมงอบ จังหวัดตราด หากสำรวจต่อไปอาจพบหินชุดเสาขัว ซึ่งเป็นชุดที่พบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในประเทศไทย

     ส่วนเกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหินอัคนีที่ถูกผลักดันแทรกซ้อนขึ้นมา ประกอบด้วย แร่ควอทซ์ เฟลด์สปาร์ และแรมัสโคไว้ท์เป็นหลัก
     สายแร่เฟลด์สปาร์ที่พบบนเกาะกระ อาจเป็นสายแร่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ

 

   เกาะบอน และเกาะตาชัย  ในฝั่งทะเลอันดามัน เกาะตาชัย จังหวัดพังงา ประกอบด้วยหินแกรนิตเป็นหลัก คล้ายกับหินแกรนิตบนเกาะสุรินทร์ จัดอยู่ในยุค Triassic ส่วนเกาะบอน จังหวัดพังงา ประกอบด้วยหินชนวน สลับกับหินทราย ไม่อาจเทียบอายุกับหมวดหินอื่นใดในประเทศไทย นอกจากนั้นที่เกาะบอน พบซากดึกดำบรรพ์ (Fossils) ของรูโพรงของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในผิวดินใต้ท้องทะเลอยู่มากมาย (Trace Fossils)



 

 


บทความโดย : นาวาเอกอาภากร อยู่คงแก้ว ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
ที่มา: หนังสือจากยอดเขาถึงใต้ทะเล 3 ทรัพยากรไทย ภูมิปัญญาไทย ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย สู่เศรษฐกิจพอเพียง

 
   


 
 
 
@ 2007 www.tis-museum.org.. All rights reserved.
This site is best viewed with Microsoft Internet Explorer 6.0+ at a minimum screen resolution of 1024 x 768,
A minimum modem connection speed of 56Kbps. Also required Flash plug-in.