ย้อนกลับ

อ่านหน้าถัดไป

 
         
   

 










    

เฟิร์นกูดหางนกถือเป็นชนิดใหม่ของไทย
และพบที่เกาะแสมสารเป็นครั้งแรก

การศึกษาสำรวจพรรณพืช โดย ดร.จำลอง เพ็งคล้าย และคณะ

     พืชพรรณที่พบบนเกาะแสมสาร จำนวน 194 ชนิด แยกเป็นกลุ่มตามลักษณะการใช้ประโยชน์และลักษณะพิเศษของพรรณพืชได้ 11 กลุ่ม คือ พืชอาหาร 35 ชนิด พืชมีพิษ 12 ชนิด พืชให้เนื้อไม้เพื่อการก่อสร้าง 16 ชนิด พืชที่ให้น้ำฝากหรือสีย้อม 13 ชนิด พืชให้เส้นใย 9 ชนิด พืชให้น้ำมัน ชัน ยาง 3 ชนิด พืชกลิ่นหอม 4 ชนิด พืชกลิ่นเหม็น 1 ชนิด พืชดอกสีม่วง 11 ชนิด พืชที่ควรดูแลพิเศษ 4 ชนิด พืชสมุนไพร 80 ชนิด และพืชพวกเฟิร์น 4 ชนิด

     คณะสำรวจได้พบพืชที่พบเป็นครั้งแรกในประเทศไทยคือ กูดหางนก ( Lindsaea tenera  Dry.)

     "กูดหางนก" เป็นพืชจำพวกเฟิร์นที่มีลักษณะคล้ายเฟิร์นก้านดำหรือเฟิร์นผมแม่หม้ายมาก เพราะทรงใบและลำต้นคล้ายกันมาก แต่แตกต่างกันในรูปลักษณ์ของกอและแนวสปอร์ จะขึ้นคลุมดินในที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ระดับสูง 40-80 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง กูดหางนกกถือเป็นชนิดใหม่ของไทยและพบที่เกาะแสมสารเป็นครั้งแรก

 

     พืชพรรณที่พบบนหมู่เกาะช้าง จำแนกไปตามชนิดป่า ได้เป็น 8 ชนิด ได้แก่พืชป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าพรุ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเชิงผา ป่าเหล่าและป่าหญ้า ประกอบไปด้วย ผักกูดหรือเฟิร์น มี 116 ชนิด พวกพืชเมล็ดเปลือยหรอืพวกสน 7 ชนิด พวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 208 ชนิด และพืชใบเลี้ยงคู่ 701 ชนิด รวมทั้งสิ้น 1,032 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นพรรณพืชต้นแบบของประเทศไทยถึง 64 ชนิด

 

     การศึกษาความหลากหลายของปลวก ในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร และเกาะต่างๆ ในบริเวณอ่าวไทยโดย ยุพาพร สรนุวัตร และ จารุณี วงศ์ข้าหลวง สำนักวิชาการกรมป่าไม้ กรมป่าไม้
 

 
   

           

จากการศึกษาปลวกบนพื้นที่หมู่เกาะแสมสารและเกาะต่างๆ รวม 20 เกาะ พบว่า เกาะที่มีพืชพรรณอุดมสมบูรณ์จะมีผลต่อปริมาณและชนิดของปลวก โดยจะพบปลวกทั้งชนิดเพราะเลี้ยงเชื้อรา และชนิดที่กินเนื้อไม้ กินดิน อินทรีย์วัตถุ และกินไลเคนส์
     ผลจากการศึกษวิจัย พบปลวกสกุลใหม่ รายงานพบครั้งแรกในประเทศไทย เช่น สกุล  Neotermes เป็นปลวกที่มีเอ็นไซม์ย่อยเซลลูโลสที่มีประสิทธิภาพสูง จึงเป็นกลุ่มที่มีเอ็นไซม์ย่อยเซลลูโลสที่มีประสิทธิภาพสูง จึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมต่อไป
 

     การศึกษาความหลากหลายของเชื้อราย่อยสลาย ในพื้นที่เกาะแสมสารและเกาะข้างเคียงในอ่าวไทย และพื้นที่เกาะตาชัยและเกาะบอนในทะเลอันดามัน โดย สุรางค์ เธียรหิรัญ ส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตผลป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ณัฏฐิกา สุวรรณาศรัย สรินทิพย์ โสรัจจตานนท์ และสมใจ เมธียนต์พิริยะ เจ้าหน้าที่ อพ.สธ.
 

       เชื้อรามีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ย่อยสลายและเป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป้า
        เชื้อราวงศ์ Xylariaceae เป็นกลุ่มเชื้อราที่ช่วยย่อยสลายพืชในธรรมชาติ เชื้อราวงศ์นี้มีเอ็นไซม์ที่สามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศวิทยา

        ผลจากการศึกษาวิจัย เชื้อราวงศ์นี้สามารถสร้างสารเคมีชนิดต่างๆ ได้สารเคมีบางชนิด เช่น anti-malaria, anti-cancer, anti-HSV และ anti-HIV

 

     การศึกษาสำรวจและการจัดจำแนกชนิดของหอย  ในพื้นที่บริเวณหมู่เกาะทะเลไทย 21 เกาะ โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภารวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     หอยทากบก  มีกำเนิดมาบนโลกตั้งแต่ยุคคาร์บอนิฟอรัส แล้วมีวิวัฒนาการที่หลากหลายรูปแบบตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หอยทากจึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาการกระชจายทางภูมิศาสตร์ และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนเกาะ ทั้งในเชิงสัณฐานวิทยา และเชิงพันธุศาสตร์ หอยทากบก 4 กลุ่ม ได้แก่ หอยทากสยาม  หอยนกขมิ้น หอยทากจิ๋ว และหอยหอม แสดงหลักฐานสำคัญทางวิวัฒนาการ ลักษณะเหล่านี้ ได้แก่ รูปร่างของเปลือก การเวียนซ้ายเวียนขวา รูปแบบของชั้นเพอริออสตราคัม แรดูลา และระบบสืบพันธุ์

     ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า หอยทากจิ๋วบนเกาะไผ่ เกาะริ้น แสดงการเกิดสีปซีส์ใหม่อันเนื่องจากการแยกออกมาจากแผ่นดินใหญ่หลายพันปีมาแล้ว ได้แยกตัวออกอย่างสิ้นเชิงถึงระดับพันธุกรรม
     หอยมรกต บนเกาะตาชัย ทะเลอันดามัน เปลี่ยนเป็นชนิดใหม่จากสปีซีส์ดั้งเดิมบนแผ่นดินใหญ่อย่างชัดเจน

     หอยทากสยาม บนเกาะไผ่ เกาะริ้น และเกาะมารวิชัย แสดงความเปลี่ยนแปลงของสัณฐานวิทยา ต่างจากพวกที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่





 



บทความโดย : นาวาเอกอาภากร อยู่คงแก้ว ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
ที่มา: หนังสือจากยอดเขาถึงใต้ทะเล 3 ทรัพยากรไทย ภูมิปัญญาไทย ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย สู่เศรษฐกิจพอเพียง

  

   


 
 
 
@ 2007 www.tis-museum.org.. All rights reserved.
This site is best viewed with Microsoft Internet Explorer 6.0+ at a minimum screen resolution of 1024 x 768,
A minimum modem connection speed of 56Kbps. Also required Flash plug-in.